ท่อร้อยสายไฟฟ้า (CONDUIT AND FITTINGS)

TETA INTERTRADE นำเข้าและจำหน่ายสายไฟอลูมิเนียม สายอลูมิเนียมคุณภาพดี มีให้เลือกหลายชนิด ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน สั่งซื้อได้แล้ววันนี้บริการจัดส่งฟรีถึงหน้างาน

อุปกรณ์ท่อร้อยสายไฟฟ้า

สายอลูมิเนียมหุ้มฉนวน PVC และ XLPE ทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ ถึง 750 โวลต์ สามารถใช้ได้ตามอาคารบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม

ท่อร้อยสายไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญในการเดินระบบไฟฟ้า ซึ่งท่อร้อยสายไฟฟ้านั้นก็มีหลากหลายรูปแบบให้ได้เลือกใช้งาน จึงต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการเลือกใช้งาน เพราะการใช้งานอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน เหมาะสมกับประเภทงานจะช่วยเสริมความปลอดภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย

ท่อร้อยสายไฟฟ้าคืออะไร

ท่อร้อยสายไฟฟ้า คือ ท่อชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับหุ้มสายไฟฟ้า ใช้ในการเดินสายไฟในอาคารบ้านเรือน งานก่อสร้าง ซึ่งการมีท่อร้อยสายไฟฟ้าจะช่วยเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดหรือไฟรั่ว ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงช่วยป้องกันอันตรายหรือสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้สายไฟฟ้าเกิดความเสียหายอีกด้วย

ท่อร้อยสายไฟฟ้ามีกี่ประเภท

ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ใช้ในงานระบบไฟฟ้า สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ตามวัสดุที่ใช้ผลิตนั่นก็คือ ท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ และท่อร้อยสายไฟฟ้าพลาสติก

1. ท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ

  • ท่อโลหะขนาดบาง EMT เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ทำจากแผ่นเหล็กกล้าชนิดรีดเย็นหรือรีดร้อน ผลิตตาม มาตรฐาน มอก. 770-2533 นิยมติดตั้งแบบเดินลอยภายในอาคาร หรือการซ่อนในฝ้า ไม่ควรใช้ในงานฝังดินหรือฝังในพื้นคอนกรีตโดยเด็ดขาด
  • ท่อโลหะขนาดกลาง IMC ท่อร้อยสายไฟฟ้าเหล็ก IMC หรือท่อขนาดกลาง ใหญ่กว่าขนาดบางเพียงเล็กน้อย เคลือบด้วยอีนาเมล ทำให้ภายในและภายนอกมีความเรียบ มันวาว ผลิตตาม มาตรฐาน มอก. 770-2533 เหมาะสำหรับฝังในผนัง เดินลอยนอกอาคาร หรือฝังในพื้นคอนกรีต
  • ท่อร้อยโลหะขนาดหนา RSC ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ผลิตจากแผ่นเหล็กกล้า เคลือบผิวทั้งภายนอกและภายในด้วยสังกะสี ผลิตตาม มาตรฐาน มอก. 770-2533 มีความหนาและแข็งแรงมากกว่าท่อ EMT และ IMC นิยมใช้กับงานเดินท่อนอกอาคาร ฝังผนัง รวมถึงพื้นคอนกรีต
  • ท่อโลหะชนิดอ่อน ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ผลิตจากเหล็กกล้า เคลือบผิวทั้งภายนอกและภายในด้วยสังกะสีเช่นเดียวกับท่อร้อยสาย RSC มีความแข็งแรงระดับหนึ่ง มีความอ่อนตัว สามารถดัดและโค้งงอได้ดี นิยมใช้ในสถานที่ที่แห้งและหลีกเลี่ยงจุดที่เปียกและมีความอับชื้น
  • ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ  มีลักษณะคล้ายกับท่อโลหะชนิดอ่อน แต่จะหุ้มด้วยพลาสติก PVC เพื่อกันน้ำและความชื้น ทำให้ท่อร้อยสายไฟฟ้าชนิดนี้สามารถติดตั้งในจุดที่มีความชื้นได้ แต่หลีกเลี่ยงการติดตั้งในจุดที่มีความร้อนสูง เพราะจะทำให้พลาสติก PVC ละลายได้

2. ท่อร้อยสายไฟฟ้าพลาสติก

  • ท่อพลาสติก PVC ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ทำจากพลาสติก PVC มีความทนทานต่อความชื้นและไม่เกิดสนิม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อพลาสติก PVC สีขาว เหมาะสำหรับการเดินลอย และท่อพลาสติก PVC สีเหลือง เหมาะสำหรับการเดินฝังบนผนัง โดยท่อพลาสติก PVC สำหรับร้อยสายไฟ ต้องได้รับ มาตรฐาน มอก. 216-2524
  • ท่อพลาสติก HDPE เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ท่อร้อยสายไฟฟ้า PE เป็นท่อที่ผลิตมาจากพลาสติกพอลิเอทิลีน (Polyethylene) ซึ่งมีความหนาแน่นสูง ทำให้มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นตัวได้ดี สามารถใช้เดินสายภายนอกอาคารฝังผนัง หรือสายใต้ดินได้ โดยมาตรฐานของท่อชนิดนี้ คือ มอก. 982-2556

การใช้งานท่อร้อยสายไฟฟ้า

สามารถใช้งานท่อร้อยสายไฟได้หลายรูปแบบทั้งฝังในผนัง เดินลอยภายนอก-ภายในอาคาร หรือต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยการใช้งานที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับประเภทของท่อร้อยสายไฟฟ้า ดังนี้

  • ท่อโลหะขนาดบาง EMT เหมาะสำหรับใช้เดินลอยภายในอาคาร หรือการซ่อนในฝ้า หรือในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ
  • ท่อโลหะขนาดกลาง IMC เหมาะสำหรับฝังในผนัง เดินลอยนอกอาคาร ฝังในพื้นคอนกรีต หรือเดินสายไฟไฟในสถานที่แห้ง
  • ท่อร้อยโลหะขนาดหนา RSC เหมาะกับงานเดินท่อนอกอาคาร ฝังผนัง รวมถึงพื้นคอนกรีต
  • ท่อโลหะชนิดอ่อน เหมาะกับติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ เหมาะกับติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่บริเวณที่มีความชื้น เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น
  • ท่อพลาสติก PVC เหมาะสำหรับการเดินลอย ร้อยสายไฟฟ้า หรือสายโทรศัพท์ (สีขาว) หรือฝังบนผนัง (สีเหลือง)
  • ท่อพลาสติก HDPE เหมาะสำหรับงานเดินสายระบบต่าง ๆ ภายนอกอาคาร หรือการนำมาฝังลงใต้ดิน

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้า

ข้อดีของการใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้า

  • ทำให้การเดินสายไฟมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่รกหูรกตา
  • ช่วยป้องกันสายไฟจากสิ่งแปลกปลอมหรืออันตรายต่าง ๆ เช่น การสัมผัสกับของเหลาว สารเคมี หรือการโดนสัตว์กัดแทะจนทำให้สายไฟขาดหรือชำรุด
  • ป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเกิดประกายไฟ โดยตัวประกายไฟจะถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะภายในท่อ

ข้อเสียของการใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้า

  • ใช้เวลาในการดำเนินการที่นานมากกว่าการเดินสายไฟรูปแบบอื่น
  • มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น และสูงกว่าการเดินสายไฟแบบเปลือย
  • การซ่อมแซม แก้ไข หรือเพิ่มสายไฟมีความยุ่งยาก

เลือกซื้อท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบไหนดี

การเลือกซื้อท่อร้อยสายไฟฟ้าให้คุ้มค่านั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการใช้งานในลักษณะไหน เช่น หากต้องการฝังสายลงดิน ควรใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าโลหะ IMC หรือท่อร้อยสายไฟฟ้า HDPE หากต้องการเดินสายไฟแบบลอยแนะนำเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้า EMT เป็นต้น ทั้งนี้ควรปรึกษาวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถเลือกซื้อได้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

นอกจากลักษณะการใช้งานแล้ว ราคาก็เป็นหนึ่งปัจจัยที่ควรพิจารณา ถ้าเน้นซื้อง่าย ราคาเบา ๆ ตอบโจทย์ดีไซน์อาคารบ้านเรือนสมัยใหม่ อาจเลือกซื้อท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบ PVC แต่ถ้าเน้นความทนทาน ใช้งานได้ระยะยาวก็ต้องยกให้ท่อร้อยสายไฟฟ้าแบบโลหะนั่นเอง

ผลกระทบหากใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน

หากใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะส่งผลกระทบกับระบบไฟฟ้าหรือสายไฟ ไม่ว่าจะเป็น

  • อาจเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟรั่วได้ 
  • ท่อร้อยสายไฟฟ้าอาจเปราะและแตก ทำให้มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปโดนสายไฟได้
  • เสียเวลาในการติดตั้งหรือแก้ไขท่อร้อยสายไฟฟ้าใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา

เลือกซื้อท่อร้อยสายไฟฟ้า ที่ TETA INTERTRADE

TETA INTERTRADE แหล่งรวมท่อร้อยสายไฟฟ้าหลายชนิด เช่น ท่อโลหะ EMT ท่อโลหะ IMC ท่อโลหะชนิดอ่อน และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้งานท่อร้อยสายไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ข้อต่อ ที่ดัดท่อ ล็อกนัท มั่นใจในคุณภาพและราคาที่คุ้มค่า โดยสามารถเลือกชมสินค้าของเราได้ที่เว็บไซต์ TETA INTERTRADE และสั่งซื้อสินค้าได้ที่แอปพลิเคชัน Line ทีมงานของเราพร้อมให้คำแนะนำเพื่อให้คุณได้สินค้าที่ตอบโจทย์การใช้งานที่สุด