รู้จักกับหน่วยของไฟฟ้า หน่วยวัดทางไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง

รู้จักกับหน่วยของไฟฟ้า หน่วยวัดทางไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง

เมื่อพูดถึงไฟฟ้า หลายคนอาจนึกถึงแค่สวิตช์เปิด-ปิด หรือปลั๊กเสียบที่ใช้งานในบ้าน แต่ความจริงแล้ว การทำความเข้าใจหน่วยของไฟฟ้าหรือหน่วยวัดทางไฟฟ้าต่าง ๆ มีความสำคัญอย่างมากต่อความปลอดภัยและการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับหน่วยวัดทางไฟฟ้าที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจและใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

หน่วยวัดทางไฟฟ้า คืออะไร

หน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็นมาตรฐานที่ใช้บอกปริมาณและคุณสมบัติต่าง ๆ ของไฟฟ้า ทำให้เราสามารถวัด ควบคุม และใช้งานไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย โดยหน่วยของไฟฟ้ามีหลายหน่วย เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น 

หน่วยวัดทางไฟฟ้าที่ใช้บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง

หน่วยวัดทางไฟฟ้าที่ใช้บ่อย ๆ มีอะไรบ้าง

หน่วยวัดทางไฟฟ้าที่ใช้บ่อย ๆ ได้แก่

1. แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)

แรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า เป็นตัวผลักดันให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านความต้านทานของวงจรระหว่างจุดสองจุด มีหน่วยวัดเป็นโวลต์ (Voltage) และที่เราเห็นบ่อย ๆ จะย่อด้วยสัญลักษณ์ V เช่น  220V เป็นต้น โดยประเภทแรงเคลื่อนไฟฟ้า จะมีทั้งไฟฟ้าแรงสูง ไฟฟ้า 3 เฟส และไฟฟ้า 1 เฟส (ไฟฟ้าตามบ้านเรือนทั่วไป) ซึ่งจะมีระดับแรงดันที่แตกต่างกัน

2. กระแสไฟฟ้า (Current)

กระแสไฟฟ้า คือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ใช้สัญลักษณ์แทนกระแสไฟฟ้า คือ I และมีหน่วยวัดเป็น แอมเปร์ (Ampere) ใช้สัญลักษณ์เป็น A โดยกระแสไฟฟ้ามีสองประเภทคือกระแสตรง (Direct Current) และกระแสสลับ (Alternating Current)

3. ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance)

ความต้านทานไฟฟ้าวัดเป็นโอห์ม (Ω) แสดงถึงการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าในวัตถุต่าง ๆ โดยวัตถุที่มีค่าความต้านทานสูงจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อย ส่วนวัตถุที่มีค่าความต้านทานต่ำกระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านได้มาก เช่น ตัวนำไฟฟ้าอย่างทองแดงมีความต้านทานต่ำ ส่วนฉนวนอย่างพลาสติกมีความต้านทานสูง

4. กำลังไฟฟ้า (Electric Power)

กำลังไฟฟ้าบ่งบอกอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้า วัดเป็นวัตต์ (W) เป็นค่าที่เราเห็นบ่อยในเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ 10 วัตต์ แอร์ 12,000 บีทียู ใช้กำลังไฟฟ้าประมาณ 1,000 วัตต์ การเข้าใจกำลังไฟฟ้าช่วยในการคำนวณค่าไฟและการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งาน

5. พลังงานไฟฟ้า (Electric Energy)

พลังงานไฟฟ้า คือกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยเป็นวัตต์-ชั่วโมง หรือที่เรียกว่า ยูนิต ซึ่ง 1,000 วัตต์-ชั่วโมง เท่ากับ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือเท่ากับ 1 ยูนิต ซึ่งค่ายูนิตนี้เองจะนำไปใช้ในการคำนวณค่าไฟฟ้าตามบ้าน โดยพลังงานไฟฟ้าวัดจะได้ด้วยวัตต์เอาร์มิเตอร์ หรือกิโลวัตต์เอาร์มิเตอร์ (KWh Meter) ซึ่งเป็นมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้าน

6. ความถี่ (Frequency)

ความถี่ไฟฟ้า คือจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าสลับต่อวินาที มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) โดยค่าความถี่จะใช้กับกระแสไฟฟ้าที่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับเท่านั้น ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ความถี่ 50 Hz ส่วนในโซนทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จะใช้ความถี่ 60 Hz

การนำหน่วยวัดทางไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การนำหน่วยวัดทางไฟฟ้าไปใช้ในชีวิตประจำวัน

การเข้าใจหน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะช่วยให้เราใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและคุ้มค่าในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น 

  • การเลือกลูกถ้วยไฟฟ้า เราต้องรู้ว่าลูกถ้วยแต่ละแบบรองรับแรงดันไฟฟ้าได้ต่างกัน ถ้าเลือกใช้ไม่ถูกต้อง อาจเกิดอันตรายจากไฟฟ้ารั่วหรือไฟฟ้าช็อตได้
  • การซื้อปลั๊กพ่วง ก็ต้องดูว่าปลั๊กพ่วงรับกระแสไฟฟ้าได้กี่แอมแปร์ (A) เพื่อความปลอดภัย ไม่ให้ปลั๊กพ่วงร้อนเกินไปหรือไหม้ เช่น ถ้าจะเสียบเตารีด กาต้มน้ำ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูง ก็ควรเลือกปลั๊กพ่วงที่รองรับกระแสไฟฟ้า 10A ขึ้นไป
  • การเช็กค่าไฟ จะเห็นหน่วยกิโลวัตต์-ชั่วโมง (kWh) ในบิลค่าไฟ ซึ่งเป็นหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ไป ยิ่งใช้ไฟฟ้ามาก ก็ยิ่งจ่ายแพง ดังนั้น เราควรประหยัดไฟฟ้า เช่น ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า เป็นต้น

สรุปบทความ

หน่วยวัดทางไฟฟ้าเป็นพื้นฐานสำคัญในการใช้งานไฟฟ้าอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ละหน่วยมีความสำคัญและหน้าที่เฉพาะ การเข้าใจหน่วยของไฟฟ้าเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

Author

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง สายไฟ ลูกถ้วย ประสบการ์ณมากกว่า 10 ปี

    View all posts

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง